วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
                การบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง  การที่บุคคลได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานทั้งทางด้านการ  แสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ  การรับผิดชอบ  การวางแผนการปฏิบัติงานตลอดจนการประเมินผล โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
               เดวิด  แมคเคลแลนด์   ได้ศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับสิ่งจูงใจของมนุษย์ในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ
 สรุปว่าคนเรามีความต้องการ 3 ระดับ คือ
              1.ความต้องการสัมฤทธิ์ผล (need for achievement)
              2.ความต้องการความผูกพัน (need for affilaition)
              3.ความต้องการมีอำนาจบารมี (need for power)
               เรนซิส  ไลเคิร์ส  เสนอทฤษฎีการบริหารซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกัน 4 รูปแบบเรียกว่าการบริหาร
4 ระบบ  คือ
   1.ระบบเผด็จการ (Exploitative  Authoritative)        
   2.ระบบเผด็จการแบบมีศิลป์ (Bebevolent  Authoritative)
   3.ระบบการปรึกษาหารือ (Consultative)                  
  4.ระบบกลุ่มที่มีส่วนร่วม (Participative  Group)
อุทัย  บุญประเสริฐ  กล่าวถึงการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
            1. ความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์   ตามทฤษฎี x และทฤษฎี y ของแมค  เกรเกอ
            2. ความคิดเกี่ยวกับความเป็นองค์การของโรงเรียน  
            3.ในด้านรูปแบบการตัดสินใจ   
           4. แบบภาวะผู้นำ  ตามทฤษฎีของ Sergiovanni  จัดระดับภาวะผู้นำ  5  ระดับ คือ
             4.1 ภาวะผู้นำด้านเทคนิค         
             4.2 ภาวะผู้นำด้านมนุษย์  4.3ภาวะผู้นำทางการศึกษา 
            4.4 ภาวะผู้นำเชิงสัญลักษณ์   4.5ภาวะผู้นำทางวัฒนธรรม
          5. กลยุทธ์การใช้อำนาจของ French และ Raven ได้แบ่งที่มาของอำนาจ ไว้  5  แบบคือ
             5.1 อำนาจจากการให้รางวัล           
             5.2 อำนาจจากการบังคับ   
             5.3 อำนาจตามกฎหมาย
            5.4 อำนาจจากการอ้างอิง 
            5.5 อำนาจจากความรู้เชี่ยวชาญ
      6. ทักษะเฉพาะในการบริหาร  การบริหารแบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในองค์กร
      7. การใช้ทรัพยากร  สถาบันมีอำนาจในการใช้และบริหารทรัพยากรมากขึ้น
องค์ประกอบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
            1.การไว้วางใจกัน (Trust)     
            2.ความยึดมั่นผูกพัน (Commitment) 
            3.การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน (Goals  and  Objective) 
            4.ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน (Automomy)
     ไลเคิร์ท  ได้แสดงให้เห็นสาระสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วมดังนี้
             1.ผู้บังคับบัญชา  รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา
             2.ผู้บังคับบัญชากระตุ้นจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา  ให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงาน
             3.ระบบการติดต่อสื่อสาร  ภายในองค์กรมีความคล่องตัวเป็นไปโดยอิสระ
             4.ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  มีปฏิกิริยาโต้ตอบกันอย่างเปิดเผยและโดย
กว้างขวาง
             5.การตัดสินใจต่างๆ  ทำโดยกลุ่มทุกระดับองค์กรเปิดโอกาสให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม
             6.การควบคุมงาน  มีลักษณะกระจายไปในกลุ่มผู้ร่วมงานให้ควบคุมกันเองและเน้นการแก้ปัญหาเป็นหลัก
             7.ผู้บังคับบัญชา  เห็นความสำคัญของการพัฒนาพนักงาน  โดยการฝึกอบรม
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
             1.ก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้บริหารและผู้ร่วมงานทุกระดับในองค์กร
             2.ลดความขัดแย้งในการทำงาน เพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น  
             3.สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
             4.ช่วยให้ผู้ร่วมงานมีสุขภาพจิตดี  ทุกคนมีงานทำ  
             5.สร้างความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร
             6.ลดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรอย่างทะนุถนอม   
             7.ช่วยให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
             8.ช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
ข้อจำกัดและอุปสรรคของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ข้อควรคำนึงและระมัดระวังในข้อจำกัดและอุปสรรคของการบริหารแบบมีส่วนร่วม  ในการแสดงความคิดเห็นและการ ตัดสินใจเพราะอาจทำให้เกิดกลุ่มอิทธิพลขึ้นได้   สรุป  การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะเกิดประโยชน์เมื่อผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมรับผิดชอบ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติงานตลอดจนถึงการประเมินผล  โดนใช้ความคิดสร้างสรรค์  และความเชี่ยวชาญ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์                                                                                                      
                                                                                                                             
                         รวบรวมโดย นางชนิตา  อุ่นทานนท์  นางวราพร  โมกไธสง  นางละไม  แสนเจ๊ก 

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

กิจกรรมเคลื่อนไหว และ จังหวะ

 






กิจกรรมสร้างสรรค์

 


กิจกรรมเล่านิทานคุณธรรม



ตรวจสุขภาพ ปากและฟัน




กิจกรรม เวียนเทียน วันมาฆบูชา



เด็กๆ รับประทานอาหาร กลางวัน


วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

12 มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก



                       
    ช่วงนี้มีการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ดิฉันได้เข้ารับการประชุมปฏิบัติการจึงนำข้อมูลรายการประเมินของคณะกรรมการมาเผยแพร่
  1. มาตรฐานด้านบุคลากรมี 4 มาตรฐาน
        1.1  ผู้ดูแลเด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิความรู้ความสามารถตรงกับงาน ที่รับผิดชอบหมั่นพัฒนา ตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี
        1.2  ผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
        1.3  ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการ
        1.4  ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ดูแลเด็ก และผู้เรียนมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
    2. มาตรฐานด้านศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 4 มาตรฐาน
        2.1  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
        2.2  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
        2.3  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของผู้เรียน
        2.4  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์การศาสนา สถาบันทางวิชาการ  องค์กรภาครัฐและเอกชน  เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนรู้ในชุมชน
    3. มาตรฐานด้านผู้เรียน มี  4  มาตรฐาน
        3.1  ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
        3.2  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
        3.3  ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตดี
        3.4  ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
  หากท่านมีโอกาสกรุณาไปแวะเยี่ยมที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพุทไธสง
(วัดหงษ์ )  ตำบลมะเฟือง  อำเภอพุทไธสง   จังหวัดบุรีรัมย์